วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557




Home บทความเรื่องบ้าน แบบบ้านทรงไทยภูมิปัญญาไทยที่ควรอยู่คู่สังคมไทย
แบบบ้านทรงไทยภูมิปัญญาไทยที่ควรอยู่คู่สังคมไทย


ในปี 2554 ที่ผ่านมา
บ้าน เมืองไทยเราก็ต้องเผชิญกับวิกฤติการครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายๆ สิบปีเลยก็ว่าได้นั้นคือปัญหาน้ำท่วม เกือบค่อนประเทศนั่นเองครับ หลายๆคนไม่เคยพบไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต ก็ต้องมาพบมาเจอและเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดของใครหลายๆคน  ทำให้ผู้คนหลายล้านชีวิตขาดเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย  ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่เราทุกคนรู้จักดีและไม่ค่อยจะนึกย้อนถึงหลักสัจธรรมนี้สักเท่าไหร่
              แต่เมื่อเจอปัญหาขึ้นกับตัวเองจึงได้รู้ว่า มันเป็นจริงทีเดียวกับหลักคำสอนของพุทธศาสนาที่ว่า มนุษย์ต้องการปัจจัย 4 หาใช่ เป็น รถยนต์ราคาแพง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเครื่องสำอางต่างประเทศ เพราะในยามที่บ้านคุณโดนน้ำท่วม ออกจากบ้านไม่ได้ ทั้งบ้านไม่มีน้ำดื่มกิน และกำลังจะสิ้นลมลงไปในวันนั้น เพราะขาดน้ำ แต่บังเอิญมีคนพายเรือมาเจอแล้ว ขอแลกน้ำ 1 ขวด กับสร้อยทองคำที่แขวนคอคุณอยู่ คุณคิดว่า วินาทีนั้นคุณจะยอมแลกกับเขาไหม  อันนี้เรียกว่าสัจธรรมจริงๆครับ
             คนเราจะคิดได้ก็ต่อเมื่อเจอกับตัวเองจริงๆ ดังนั้นน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมาก็ได้สร้างอะไรดีๆในใจคนเรามากมายเหมือนกัน  รวมถึงสร้างความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  รวมถึงเรื่องของการออกแบบที่อยู่อาศัยที่จำเป็นต้องประยุกต์แนวคิดใหม่ โดยนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจัยในการออกแบบ  ซึ่งจะแตกต่างจากสมัย 2- 3 ปีที่ผ่านมาที่ ยังไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น  และเราเองก็ไม่รู้ว่าในอนาคตเหตุการณ์ต่างๆที่เลวร้ายนี้จะย้อนกลับมาเมื่อ ไหร่และจะทวีคูณความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่
บ้านทรงไทยใต้ถุนสูง 
บ้านทรงไทยสมัยโบราณออกแบบหลังคาให้มีความลาดชันเป็นพิเศษเพื่อการระบาย
ของน้ำฝนอย่างรวดเร็วไม่ทำให้เกิดการขังของน้ำฝนและลดแรงปะทะได้ดี
 
ใต้ถุนบ้านทรงไทย 
ใต้ถุนของบ้านในอดีตใช้เก้บสิ่งของเครื่องใช้ทางการเกษตรหรือเก็บผลผลิตทางการเกษตร 


          จากอดีตบ้านเรือนไทยสมัยโบราณในแต่ละภาคล้วนแล้วแต่มีการออกแบบทีคล้ายคลึง กันแบบทั้งสิ้นจะแตกต่างกันก็เพียงเฉพาะส่วนตกแต่ง สถาปัตยกรรมเท่านั้น  นั้นคือการออกแบบบ้านที่เรียกว่า บ้านใต้ถุนสูง  สาเหตุของการที่ทุกภาคของบ้านเราในสมัยโบราณนิยมออกแบบบ้านเป็นบ้านใต้ถุนสูง อาจ จะเนื่องมาจากสาเหตุที่ประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศในแถวร้อนชื้น ซึ่งก็หมายถึงมีภูมิอากาศไปทางร้อนและมีความชื้นสูงด้วยซึ่งจะเห็นว่าทั้ง สองตัวนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีนักสำหรับการอยู่อาศัยครับ ดังนั้นการออกแบบบ้านสมัยโบราณของบ้านเราจึงแบ่งการแก้ปัญหาที่พักอาศัยออก เป็น 2 ส่วนคือ
  1. การออกแบบบ้านให้รับกับความร้อน
  2. การออกแบบบ้านให้รับกับความชื้น
            สำหรับในข้อแรกคือการแก้ปัญหาเรื่องความร้อนนั้น จะสังเกตเห็นว่าบ้านทรงไทยจะมีลักษณะทรงหลังคาสูง เนื่องจากเหตุผล ที่ต้องการให้อากาศร้อนลอยออกไปให้ห่างจากตัวบ้านมากที่สุด อีกทั้งการทำให้หลังคาสูงและชันยังช่วยให้การระบายของน้ำฝนไหลลงเร็วที่สุด ช่วยป้องกันการรั่วซึมและการขังของน้ำฝนได้ดี  และสังเกตุเห็นว่าการออกแบบบ้านทรงไทยจะมีลักษณะชายคาบ้านที่ค่อนข้างยื่น ออกไปจากตัวบ้านมากกว่าปกติ เพื่อบังแดด ไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน ดังนั้นเมื่อมีชายคายื่นออกจากตัวบ้านมากจำเป็นต้องมีตัวค้ำยัน ชายคาเพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงนั่นเอง รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาความร้อนอีกอย่างหนึ่งคือการออกแบบให้มีช่องประตู หน้าต่างขนาดใหญ่และมีเสาสูง มีใต้ถุนบ้าน เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของอากาศซึ่งจะช่วยดึงลมเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างดี อีกด้วย
ค้ำยันบ้านทรงไทย 
ค้ำยันบ้านทรงไทยสมัยโบราณช่วยเพิ่มความแข็งแรงของชายคาบ้าน ที่มีลักษณะยื่นออกมามากเป็นพิเศษ
 
บ้านทรงไทยใตุ้ถุนสูง 
การออกแบบบ้านให้มีความโล่ง และมีประตูหน้าต่างขนาดใหญ่ของบ้านทรงไทยโบราณ 
          
             ในส่วนที่สองนั้นก็คือการแก้ปัญหาความชื้นนั้น  ในส่วนของความชื้นจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมายเช่น ทำให้ตัวบ้านผุพังเร็วกว่าปกติ หรือปัญหาปลวกที่จะมาทำลายบ้านโดยเฉพาะบ้านที่สมัยก่อนนั้นล้วนแต่ทำมาจาก ไม้แทบทั้งสิ้น ดังนั้นเรือนไทยในสมัยก่อนจึงใช้ภูมิปัญญาการออกแบบบ้านในลักษณะใต้ถุนสูง ให้ตัวบ้านพ้นจากผิวดินซึ่งมีความชื้นอยู่มากและอาจจะส่งผลเสียตามมาตามที่ ได้กล่าวไปแล้ว  อีกทั้งการยกพื้นสูงของคนสมัยก่อนยังใช้ใต้ถุนเป็นที่เก็บเครื่องมือการ เกษตร หรือใช้ในการผึ่งผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งใช้ในการพักผ่อนและต้อนรับแขกที่ผ่านไปมาอีกด้วย
                ที่ผ่านมาความนิยมและความเข้าใจถึงคุณค่าและภูมิปัญญาของคนไทยในเรื่องบ้าน ทรงไทยค่อยๆจะลดเลือนหายไปตามเวลา และถูกแทนที่ด้วยบ้านรูปทรงสมัยใหม่ที่เรียกว่าสไตล์โมเดิร์นเน้นการออกแบบ ในรูปทรงเลขาคณิตที่พบเห้นส่วนมากคือ มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมไม่มีหลังคา ไม่มีชายคาบังแดด และนิยมใช้กระจกรอบด้านของบ้าน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศที่อยู่ในเขตเมือง หนาวที่จำเป็นต้องออกแบบบ้านให้รับแสงแดดเพื่อความอบอุ่น ซึ่งต่างจากบ้านเราโดยสิ้นเชิง  ดังนั้นเมื่อนำแบบบ้านมาสร้างในบ้านเรา สิ่งที่ตามมาคือความร้อนและการสิ้นเปลืองจากการใช้พลังงานเพื่อลดความร้อน โดยเฉพาะการใช้แอร์  ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันมาก
                ถึงวันนี้เมื่อประเทศของเราเริ่มเผชิญกับภัยทางธรรมชาติมากขึ้น  เริ่มมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้น  อาจจะส่งผลให้ความคิดในการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ของผู้คนไทยในประเทศเริ่มหันมามอง มาใส่ใจในภูมิปัญญาในอดีตของบรรพบุรุษ ที่ได้คิดค้นขึ้นมาด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นร้อยๆปี ก็เป็นได้

                                                                   **ภาพและเนื้อหาทั้งหมดโดยบ้านป่าตาลหากนำส่วนหนึ่งส่วนไปใช้โปรดอ้างอิงเจ้าของเนื้อหาด้วยครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น